ท่องเที่ยว | เที่ยวธรรมชาติ | เที่ยวสกลนคร

เที่ยวยังไง ให้ฟินตามคำขวัญของ จังหวัดสกลนคร

สกลนคร มีความหลากหลายของวัฒธรรมประเพณีและธรรมชาติที่สวยงาม และยังมีกลุ่มชนเผ่าถึง 6 ชนเผ่า คือ ไทลาว, ภูไท, กะเลิง, ญ้อ, โย้ย และโส้ นอกจากนี้ยังมีความงดงามทางธรรมชาติอย่างหนองหารอีกด้วย

เที่ยวยังไงให้ฟิน ตามคำขวัญที่ว่า

พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร

แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

พระธาตุเชิงชุมเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ ประจำ จังหวัดสกลนคร มีความเกี่ยวโยงกับตำนานประชุมรอยพระพุทธบาทเชื่อว่าพระธาตุเชิงชุมสร้างขึ้นในสมัยที่พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เป็นเจ้าเมืองหนองหารหลวง หรือ จ. สกลนครในปัจจุบัน ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ยุคเดียวกับการสร้างพระธาตุพนม ชื่อ "เชิงชุม" มาจากตำนานอุรังคธาตุ ตอนพระพุทธเจาเสด็จมาประทับ รอยพระพุทธบาทไว้บนแผ่นศิลาร่วมกับอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสาม ทั้งมีพุทธทำนายว่า ในอนาคตพระศรีอริยเมตไตรย พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัป จะเสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทเช่นกัน  ต่อมาแผ่นศิลาจมหายไปในน้ำ ด้วยความศรัทธา พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เจ้าเมืองหนองหารหลวง จึงทรง สร้างเจดีย์ศิลาแลงครอบบริเวณที่แผ่นศิลาจมหาย เจดีย์นั้นคือพระธาตุ เชิงชุม หลักฐานโบราณคดีบ่งชี้วา เมื่อแรกสร้าง พระธาตุเชิงชุมเป็นปราสาท หินในศาสนาพราหมณ์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอม  ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ไดรับอิทธิพลล้านช้าง จึงดัดแปลงเป็นพุทธสถาน โดยสร้างเจดีย์ยอดบัว เหลี่ยมแบบศิลปะลาวครอบทับเจดีย์องค์เดิม พร้อมสร้างสิมไว้ใกล้กัน  ต่อมา มีการสร้างวิหารเชื่อมต่อกับพระธาตุ เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพอพระองค์แสน" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสกลนคร อายุกว่า ๑๐๐ ปี
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์สวรรค์ของ คนรักต้นไม้ เพราะภายในเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพรรณ โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ ยิ่งดอกไม้ในช่วงฤดูหนาวจากป่าภูพาน เช่น ดุสิตา มณีเทวา และทิพย์เกสร ถือว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากความงามของต้นไม้และดอกไม้แล้วอาคารต่าง ๆ ที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ก็สวยงามไม่แพ้กัน ภายในเขตพระราชฐาน หรือ หมู่ตำหนัก จะตกแต่งในรูปแบบเรียบหรู ดูคลาสสิก แต่พระตำหนักปีกไม้ที่ใช้เป็นเรือนรับรองนั้นสร้างขึ้นในรูปแบบล็อกเคบิน ซึ่งดูแตกต่างและมีเสน่ห์ไปอีกแบบ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์เปิดให้เข้าชมฟรี ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หากไปเที่ยวจังหวัดสกลนครอย่าลืมไปแวะชมพระตำหนักที่สำคัญอีกแห่งในประเทศไทย
หนองหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมและเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ที่นี่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ปลาน้ำจืด นกน้ำ และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย บางแห่งชาวบ้านจะนำสัตว์เลี้ยงเช่น หมูป่า แพะ ไปปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ ถึงเวลาจะเรียกสัตว์เลี้ยง ของตนเอง เจ้าของสัตว์แต่ละฝูงจะใช้แหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกัน เช่น เสียงจากกะลาเสียงจากกระป๋อง เป็นต้น สัตว์ที่เลี้ยงไว้จะจดจำเสียงนั้น ๆ ไม่มาปะปนกัน นอกจากนี้ ที่หนองหารยังมีเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ซึ่งเป็น เกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้างและพระพุทธรูปเก่าแก่ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสกลนคร มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมายถ้านักท่องเที่ยวไปหนองหารช่วงต้นเดือนตุลาคมก็จะได้ชมการแข่งเรือยาวกีฬาริมแม่น้ำที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณ และยังได้ทำบุญในงานบุญออกพรรษาประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยอีกเช่นกัน
ชาวสกลนครนิยมทำปราสาทผึ้งขนาดใหญ่ตระการตาถวายสักการะแด่พระพุทธเจ้าในวันออกพรรษา เดิมชาวบ้านทำปราสาทผึ้งในงานทำบุญแจกข้าวให้ผู้ตาย ด้วยความเชื่อว่าการถวาย ปราสาทผึ้งเป็นกุศลสูงส่ง เมื่อผู้ถวายสิ้นชีวิตแล้วจะได้ไปอยู่ในวิมานบนสวรรค์  ต่อมาได้ปรับ เปลี่ยนเป็นการทำปราสาทผึ้งเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในช่วงเทศกาลออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น 12 ค่ำถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวาระที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาโปรดเวไนยสัตว์ โดยชาวสกลนครจะจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปยังพระธาตุเชิงชุมปราสาทผึ้งแบบดั้งเดิม หรือ "หอผึ้ง" โครงทำจากไม้และกาบกล้วยเป็นรูปทรงคลายสิม พื้นบ้าน จากนั้นประดับดวย "ดอกผึ้ง" หรือขี้ผึ้งที่หล่อเป็นรูปดอกไม้  
ภูไทเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของสกลนคร และสาวภูไทก็ได้ชื่อว่ามี ความอ่อนหวานทว่าทรหดอดทน ภูไท หรือภูไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากเป็นลำดับ 2 ของ จังหวัดสกลนคร รองจากกลุ่มไทย-ลาว  เดิมชาวภูไทอาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทและแคว้นสิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีน หลังจากนั้นอพยพมาที่ประเทศลาว  ครั้นในช่วงรัชกาลที่ 3-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดเหตุการณ์ไม่สงบหลายครั้ง ชาวภูไทจำนวนมากจึงอพยพ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่ จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ใน จ. สกลนคร ชาวภูไทตั้งถิ่นฐานหนาแน่นที่ อ.วาริชภูมิ อ.พรรณานิคม และ ต. โนนหอม อ.เมืองสกลนคร หญิงสาวภูไทมีความอ่อนหวานและมีฝีมือในการทอผ้า โดยเฉพาะผ้าแพรวา ทั้งยังฟ้อนภูไทได้อ่อนช้อย กระทั่งได้รับเลือกให้แสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอยูเสมอ ขณะเดียวกันสาวภูไทก็ทรหดอดทน ทำนาทำไร่ได้ไม่แพ้ผู้ชาย
เมืองสกลนครเป็นแหล่งชุมนุมสายพระป่าหรือพระสงฆ์ธรรมยุตนิกายฝ่ายวิปัสสนาธุระด้วย จ. สกลนครเป็นที่ตั้งของเทือกเขาภูพานซึ่งมีบรรยากาศสงบเงียบเหมาะแก่การปฏิับัติธรรม อีกทั้งอยู่บนเส้นทางธุดงค์จาก จ. อุบลราชธานีอันเป็นศุนย์กลางธรรมยุตนิกายของภาคอีสานไปยังจุดสำคัญต่างๆ รวมถึงมีพระเถระชื่อดังหลายรูป เช่นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตโต พระอาจารย์หลุย จันทสาโร พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เป็นต้น

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น