เที่ยว 20 จังหวัดอีสาน
1.มอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ
ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา บ้านวังคำแคน ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยกลุ่มหินทรายสีขาววางเรียงรายคล้ายกับ “สโตนเฮนจ์” ในประเทศอังกฤษ มอหินขาว จึงได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า “สโตนเฮนจ์เมืองไทย” เป็นสวนหินธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการสะสมของตะกอนทรายและดินเหนียวแข็งตัวกลายเป็นหิน ลักษณะของหินกลุ่มต่างๆ เกิดจากเคลื่อนไหวของเปลือกโลกบีบอัดจนเกิดการคดโค้ง แตกหัก กัดเซาะทั้งแนวตั้งและแนวนอน สร้างสรรค์เป็นรูปต่างๆ ตามจินตนาการของผู้พบเห็น และมีความสวยงามหน้าสะดุดตา เส้นทางไปยังมอหินขาว เป็นถนนราดยางตลอดทางไปจนถึงจุดชมวิวผาหัวนาค เมื่อมาถึงมอหินขาวก็จะถึงกลุ่มหินชุดแรก คือ “เสาหิน 5 ต้น” เป็นหินที่มีความสูง ประมาณ 12 เมตร จำนวนหนึ่งใน 5 มีต้นหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ขนาด 22 คนโอบ เสาหิน 5 ต้นนี้นับเป็น เสาหินที่เด่นที่สุด และเป็น ไฮไลต์ของการมาเที่ยวมอหินขาว
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา โทรศัพท์ 093 093 9193, 0 4410 9786
2.วัดถ้ำผาแด่น จังหวัดสกลนคร
วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านดงน้อย ตำบลดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 17 กม. เป็นอีกหนึ่งใน สถานที่ที่ห้ามพลาดของสกลนคร ที่งดงามด้วยงานแกะสลักบนหน้าผาหินที่มีเอกลักษณ์วิจิตรศิลป์ สวยสดงดงามถ่ายทอดเรื่องราว พุทธประวัติ เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดสกลนคร มีความเป็นมานับร้อยปี วัดตั้งอยู่บนภูเขาสูง ท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น โดยมีการจัดพื้นที่ ให้สามารถชมทิวทัศน์และถ่ายรูป บริเวณศาลาผาแดงมองเห็นตัวเมืองสกลนครและทะเลสาบหนองหารได้แบบ 180 องศา
การเดินทางไปวัดถ้ำผาแด่น
เริ่มจากตัวจังหวัดสกลนครใช้เส้นทางสกลนคร – กาฬสินธุ์ ผ่านสี่แยกบายพาส ถึงไทวัสดุ ให้ชะลอรถ จะมี 3 แยกที่บ้านศรีวิชา มีป้าย บอกไปวัดถ้ำผาแด่น และ ไปอำเภอเต่างอย เลี้ยวซ้ายตรงไปอีก 10 กม.ถึงบ้านดงน้อย มีป้ายบอกว่าไปถ้ำผาแด่น เลี้ยวขวาเข้าไปตาม ทางเข้าหมู่บ้านไปอีก 3 กม . เป็นขึ้นภูเขา ถนนสะดวกสบาย เป็นทางลาดยางจนถึงวัด
3.วัดป่าภูก้อน จัวหวัดอุดรธานี
วัดป่าภูก้อน เป็นพุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน ภายในวัดมีพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุในพระเกศพระร่วงโรจน์ศรีบูรพา ซึ่งเป็นประธานประดิษฐานหน้าองค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ ซึ่งเป็นวัดที่มีความสวยงามมากของจังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำใหญ่ ตำบลบ้านก้อง อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากการดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติและป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งดำเนินรอยตามพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าไม้ต้นน้ำลำธารตลอดจนสัตว์ป่า และพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยคู่กับแผ่นดินไทยพร้อมทั้งเพื่อจรรโลงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนาให่เจริญมั่นคงคู่แผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน
4.พิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร จังหวัดอุดรธานี
ที่มาของ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร ปัจจุบันตั้งอยู่ในค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 บ้านโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดอุดรธานี เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม แรกเริ่มเดิมทีนั้นที่นี่เคยเป็นที่นาว่างเปล่า แต่ในปี พ.ศ. 2507 กองทัพสหรัฐฯ ก็ได้ติดต่อซื้อที่ดินผืนนี้จากชาวบ้านนามว่า นางสา ในราคา 400 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นที่มั่นอย่างถาวรให้กับทหารอเมริกันที่เข้าร่วมสงครามเวียดนามในสมัยนั้น ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งที่พักอาศัย ศูนย์กีฬา ฯลฯ และที่สำคัญสุด ๆ ก็คือ "สถานีเรดาร์" เพื่อทำการติดต่อสื่อสารกับหน่วยต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
5.ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบกลางเมืองโบราณบ้านปราสาท โดยมีบารายขนาดใหญ่ทางตะวันออกไม่ไกลจากปราสาท สิ่งก่อสร้างหลักคือปราสาท 5 องค์ บนฐานเดียวกันที่ยกพื้นสูง มีสระน้ำส้อม 3 ด้าน โดนมีปราสาทกลางเป็นปราสาทประธานและปราสาทบริสารที่มุมทั้ง 4 ทิศ เป็นปราสาทที่สมบูรณ์และงดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ศิลปะขอมแบบปาปวนและแบบนครวัด สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 17 ปราสาทศีขรภูมิ เป็นปราสาทขนาดเล็กที่มีปรางค์หมู่ 5 องค์ ก่ออิฐไม่ถือปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยมีคูน้ำล้อมรอบสามด้าน รูปแบบผังจำลองลักษณะเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล
มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ เช่น ร้านค้าของที่ระลึก จุดบรการนักท่องเที่ยว และยังมีมัคคุเทศก์นำเที่ยวจุดต่าง ๆภายในปราสาท รวมไปถึงป้ายสือความหมายให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจอีกด้วย และมีศูนย์บริการสำหรับผู้พิการ
6.ผามออีแดง จังหวัดศรีษะเกษ
นับเป็นจุดชมวิวในมุมสูงที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคอีสานเลยทีเดียว ผามออีแดงตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะทางประมาร 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเมสกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปเป็นมุมกว้าง ผามออีแดง เป็นจุดชมทัศนียภาพสองฟากฝั่งของสองประเทศสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 550 เมตร สภาพป่าเบื้องล่างเรียกว่า เขมรต่ำ แนวเขาที่ทอดยาวด้านตะวันออกคือ เทือกเขาพนมดงรัก บริเวณผามออีแดงนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก อีกทั้งเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติผามออีแดง – สระตราว
7.ถ้ำเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลำภู
ถ้ำเอราวัณ หรือ ถ้ำช้าง ตั้งอยู่ในตำบลวังทอง หนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของหนองบัวลำภู เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนเขาชาวบ้านเรียกเขานี้ว่า “ผาถ้ำช้าง” เนื่องจากลักษณะเหมือนกับช้างหมอบ ภายในแบ่งเป็นโถงถ้ำเล็กๆ งดงามด้วยหินงอกหินย้อยและหินที่มีรูปทรงแปลกตา โดยเฉพาะหินรูปพญาช้างนั่งคุกเข่า บริเวณปากถ้ำเอราวัณมีขนาดกว้างใหญ่ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธชัยศรีมหามุนีศรีโลกนาถ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวหนองบัวลำภูประดิษฐานอยู่ มองเห็นได้แต่ไกล การไปชมถ้ำเอราวัณ ต้องเดินขึ้นบันไดสู่ปากถ้ำกว่า 621 ขั้น ซึ่งเรียกกันว่า ลัดเลาะเลี้ยวไปตามไหล่เขาพร้อมศาลาพักชมวิวทั้งหมด 3 แห่งตลอดเส้นทาง
8.พระธาตุยาคู จัวหวัดกาฬสินธุ์
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบหลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ จึงเรียกกันว่า พระธาตุยาคู จึงนับเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีหลักฐานว่าแต่ละส่วนของพระธาตุยาคู สร้างขึ้นใน 3 สมัย โดยส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ สร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นส่วนฐานทรงแปดเหลี่ยม สร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิม ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างต่อเติมในสมัยรัตนโกสินทร์
9.พระธาตุพนมวรวิหาร จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา
พระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระมหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุ ผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก
10.ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นปราสาทหินทรงขอมโบราณแบบบาปวน ตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขะแมร์ที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ และเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน ในเวลาต่อมา
ปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นตามความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์ และโลกมนุษย์ ลักษณะผังของปราสาทหินพิมายนั้นสร้างขึ้นคล้ายเขาพระสุเมรุ มีองค์ปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ใจกลางของเทวสถาน เป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ ปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอำเภอพิมาย และจังหวัดนครราชสีมา
11.ผาหัวนาค จังหวัดชัยภูมิ
ผาหัวนาค อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของมอหินขาว ใช้เส้นทางเดินทางเดียวกันกับมอหินขาวซึ่งเป็นทางราดยางตลอด ในฤดูฝนจะมีดอกไม้ป่าบานสะพรั่ง และมีโอกาสได้เห็นทะเลหมอกในยามเช้า ผาหัวนาคอยู่ห่างจากมอหินขาวกลุ่มหินโขลงช้างประมาณ 4 กิโลเมตร จากมอหินขาวไปเป็นเส้นทางลูกรังตลอดทาง ควรจอดรถไว้ที่หน่วยพิทักษ์ฯ มอหินขาวแล้วต่อรถสองแถวหกล้อของชาวบ้านไป หินผาหัวนาคอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 905 เมตร สามารถมองเห็นวิวของเมืองที่ด้านล่างได้
12.พญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม
แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของ จ.นครพนม ประดิษฐานบน ริมฝั่งแม่น้ำโขง บนลานศรีสัตตนาคราช เป็นองค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน มีความสวยงาม โดดเด่น องค์พญาศรีสัตตนาคราช หล่อด้วยทองเหลือง เป็นรูปพญานาคขดหาง 7 เศียร ประดิษฐานบนแท่นฐานแปด เหลี่ยม กว้าง 6 เมตร ความสูงทั้งหมดรวมฐาน 15 เมตร ตามที่ทราบกันว่าพี่น้องชาวไทย-ลาว มีความเชื่อผูกพัน อยู่กับองค์พญานาค เช่นเดียวกับความผูกพันในลำน้ำโขง ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าล้วนศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพญานาค ในฐานะที่เป็น ผู้ดูแลปักปักษ์รักษาแถบลุ่มน้ำโขง รักษาพุทธศาสนา รวมถึงองค์พระธาตุพนม วัตถุประสงค์การก่อสร้างครั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อเกี่ยวต่อเรื่องพญานาคของชาวไท และชาวลาวที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อีกทั้งยังต้องการยกระดับ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็น แลนด์มาร์กแห่งใหม่อีกจุดหนึ่งของภูมิภาคนี้
13.พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วรารามตำบลผาน้ำย้อยอำเภอหนองพอกจังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะ เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสม กันระหว่างพระปฐมเจดีย์ และพระธาตุพนม ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ออกแบบโดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วยสีทอง เหลือง อร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ วมยอดทองคำ เป็น 109เ มตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหา เจดีย์เหมือนอยู่บน วิมานแดนสวรรค์
14.พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช แก่งกะเบา จังหวัดมุกดาหาร
แก่งกะเบา ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวเมืองมุกดาหาร 35 กม. มีอาณาเขตติดต่อ กับอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม แก่งกะเบาเป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขงขนาดใหญ่ ในฤดูแล้งน้ำลดจนเห็นเกาะแก่งกลางน้ำ สามารถเดินลัดเลาะไปบนแก่นหินที่ทอดตัวยาว เป็นจุดชมทิวทัศน์ริมฝั่งโขงที่สวยมากอีกแห่งหนึ่ง และอีกหนึ่งแลนด์มาร์คใหม่ของแก่งกะเบา พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช ลำตัวสีขาวหมอก สง่างาม โดดเด่น ดูอบอุ่น มีอุปนิสัย ตรงไปตรงมา ดูภายนอกมองว่าดุร้าย แท้จริงแล้วใจดี ชื่อองค์พญานาคซึ่งหมาย พญานาคผู้นำความเป็นสิริมงคลและความรุ่งโรจน์มาสู่จังหวัดมุกดาหาร ผู้ใดที่มากราบไห้วสักการะและได้ลอดท้องพญานาคจะมีความสุขสมหวัง ดังคำอธิษฐาน
15.องค์พิสัยศรีสัตตนาคราช จังหวัดหนองคาย
องค์พิสัยศรีสัตตนาคราช จ.หนองคาย แลนด์มาร์คอันศักดิ์สิทธิ์ ของจังหวัดหนองคายที่ทั้งพี่น้องชาวไทยและชาวลาวเอง พากันหลั่งไหลมากราบสักการะบูชาพระศรีสัตตนาคราช และสถานที่แห่งนี้ ยังเป็นการแสดงถึงอำนาจและการกระจายความเจริญรุ่งเรืองไปสู่นานาประเทศอีกด้วย และตั้งเด่นเป็นสง่าท่ามกลางทิวทัศน์อันงดงามริมแม่น้ำโขง
16.วิมานพญาแถน จังหวัดยโสธร
ยโสธร เป็นจังหวัดที่มีประเพณีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวยโสธร ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกนั้นประกอบด้วย โลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล โดยโลกมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเทวดาซึ่งขาวอีสานเรียกเทวดาว่าพญาแถน ซึ่งพญาแถนมีอิทธิพลต่อ ฝน ฟ้า ลม หากมนุษย์ทำให้พญาแถนโปรดปรานหรือพอใจ ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเกิดพิธีการบูชาพญาแถนโดยการใช้บั้งไฟ เพื่อแสดงการเคารพและเป็นการขอฝนจากพญาแถน อันเป็นที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอันโด่งดัง
17.วิหารเทพวิทยาคม วัดหลวงพ่อคูณ จังหวัดนครราชสีมา
เที่ยววิหารเทพวิทยาคม แหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม ศาสนา และศิลปะ แห่งอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มรดกทางวัฒนธรรมของหลวงพ่อคูณที่ตกทอดสู่เหล่าพุทธศาสนิกชนมาถึงปัจจุบัน
ภายหลังจากการมรณภาพของพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ เกจิชื่อดังของเมืองไทย ที่มีลูกศิษย์มากมายที่ให้การเคารพนับถือ หลักธรรมคำสอนของท่าน ยังคงเป็นหลักธรรมประจำใจที่ใครต่อใครต่างยึดถือและปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน หากแต่มรดกทางภูมิปัญญาอีกหนึ่งอย่างที่ท่านได้ทิ้งไว้ให้กับพวกเรา นอกเหนือจากวัดบ้านไร่ และพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แล้ว หากแต่ยังมี "วิหารเทพวิทยาคม" มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ที่สร้างขึ้นจากปณิธานของตัวท่านเอง
18.วัดรอยพระพุทธภูมโนรมย์ จังหวัดมุกดาหาร
วัดภูมโนรมย์ หรือ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ อยู่ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 5 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นภูเขาที่มีความไม่สูงมากนัก นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ เป็นวัดเก่าแก่ มองเห็นทิวทัศน์ของจังหวัดมุกดาหาร แม่น้ำโขง และแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ภายในบริเวณวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างขึ้นจากหินทราย กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 1.8 เมตร และขณะนี้จังหวัดมุกดาหารยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคงเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เป็นพระพุทธรูปบางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 39.99 เมตร สูง 59.99 เมตร รวมความสูงจากฐานถึงยอดเศียร 84 เมตร โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 75 ล้านบาท และเงินบริจากจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปอีกจำนวนหนึ่ง
และมีแลนด์มาร์คเพิ่มเติม "องค์พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช" แลนด์มาร์คใหม่ของมุกดาหาร เพิ่งสร้างเสร็จและทำพิธีบวงสรวงไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารไปทางทิศใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล
19.จุดชมวิวช่องเขาขาด จังหวัดหนองบัวลำภู
บริเวณนี้เป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเขื่อนอุบลรัตน์ เนื่องจากเป็นมุมสูงอยู่ช่วงสันเขาภูพานคำมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 275 เมตร ทำให้เห็นทัศนีภาพมุมกว้าง ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตระหว่างอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู บริเวณนี้จะเหมาะในการชมพระอาทิตย์ตก และยังสามารถมองเห็นสันภูเก้าได้อย่างชัดเจน อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ ระยะทางประมาณ 700 เมตร และยังเป็นที่พักผ่อนหน่อนใจในวันหยุด สูญบรรยากาศสดชื่น
20.หินสามวาฬ จังหวัดบึงกาฬ
เป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดดเด่น อยู่ด้านตะวันออกภูสิงห์ เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า สามารถยืนชมทัศนียภาพของป่าภูวัว ห้วยบังบาตร แก่งสะดอก หาดทรายแม่น้ำโขงและภูเขาเมืองปากกระดิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเราสามารถเดินขึ้นไปยืนบนหินวาฬได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังด้วย
rock whale unseen thai 2