ประวัติความเป็นมา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
สภาพที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอพรรณานิคมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองสกลนคร มีพื้นที่ 673.798 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 412,124 ไร่ ห่างจากเทศบาลสกลนครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 ประมาณ 38 กิโลเมตรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 123 หมู่บ้านมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกุดบาก และอำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
อำเภอเมืองประกอบไปด้วย 10 ตำบลดังนี้
1. ตำบลบะฮี
2. ตำบลเชิงชุม
3. ตำบลช้างมิ่ง
4. ตำบลพรรณา
5. ตำบลวังยาง
6. ตำบลสว่าง
7. ตำบลไร่
8. ตำบลนาหัวบ่อ
9. ตำบลนาใน
10. ตำบลพอกน้อย
ประวัติและความเป็นมาอําเภอพรรณานิคม
การตั้งถิ่นฐานในอำเภอพรรณานิคมพบว่ามีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เนื่องจากมีภูมิประเทศเหมาะสมหลักฐานดังกล่าวประกอบด้วยเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเครื่องมือเหล็กและสำริดพบในบริเวณอำเภอพรรณานิคมตัวกับเขตอำเภอพังโคนโตมาเมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคสมัยวัฒนธรรมเขมรเรืองอำนาจปรากฏว่ามีการสร้างศาสนสถานตัวยิงทรายบนยอดเขาภูเพ็กเรียกว่ าปราสาทภูเพ็ก ที่มีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทยประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางปราสาทภูเพ็กอยู่ในเขตบ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม แต่คงถูกปล่อยทิ้งร้างไป จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 22 วัฒนธรรมล้านช้าง ได้แพร่กระจายเข้าสู่พื้นที่อำเภอพรรณานิคม พบหลักฐานประเภทภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเคลือบทรงสูง จากกลุ่มเตาลุ่มน้ำสงครามบรรจุเถ้ากระดูกฝังดินอยู่ในหลายชุมชนของอำเภอพรรณานิคม
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั่น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
การเกิดขึ้นของบ้านเมืองพรรณานิคม เริ่มชัดเจนในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยกลุ่มคนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานก่อนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท เมื่อปีพุทธศักราช 2385 ทางการสยามได้ให้ราชวงศ์ ( อิน) เมืองสกลนคร ข้ามแม่น้ำโขงไปเกลี้ยกล่อมครอบครัวเมืองวัง หรือเมืองวังอ่างคำเพื่อตัดกำลังของญวนทำให้ราษฎรชาวภูไท ท้าวโฮงกลาง (สี) บุตรเจ้าเมืองวังท้าวนวน ท้าวราชวังหลานเจ้าเมืองวัง พากันอพยพเข้าสู่เขตเมืองสกลนคร ส่วน พญาก่า เจ้าเมืองวังได้ขัดขืนไม่มาด้วยเมื่อมาถึงเมืองสกลนครได้ตั้งบ้านเรือนชั่วคราว ณ บ้านผ้าขาวพันนา พร้อมนำความกราบบังคมทูลยกบ้านผ้าขาวเป็นเมือง และในปีพุทธศักราช 2387 ล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯยุคบ้านผ้าขาวพันนาขึ้นเป็น เมืองพรรณานิคม ให้เท้าโฮงกลาง (สี) เป็นพระเสนาณรงค์ ตำแหน่งเจ้าเมืองท้าวราชวัง เป็นอุปฮาด เท้านวน เป็นราชวงศ์ เพี้ยผ่านคีรี เป็นราชบุตร ทำราชการขึ้นกับเมืองสกลนครหาแต่พระเสนาณรงค์ ไม่ได้พาราษฎรไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพรรณา เนื่องจากกันดารน้ำอุปโภคบริโภค และเกิดโรคขี้ทูด (คุดทะราด) จึงพากันไปตั้งบ้านเรือน ณ บ้านพานพร้าวแทน
ปีพุทธศักราช 2427 พระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคมถึงแก่กรรมลง ทางราชการจึงแต่งตั้งให้ราชวงศ์ (สุวรรณ) เป็นผู้รักษาราชการแทนในปีพุทธศักราช 2435 ราชวงศ์(สุวรรณ) ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองพรรณานิคมสืบต่อมา และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระศรีณรงค์ (สุวรรณ) ครั้งถึงปีพุทธศักราช 2440 มณฑลการเปลี่ยนระเบียบตำแหน่งกรมการเมือง ตามระเบียบกรมการหัวเมืองชั้นใน จึงให้พระเสนาณรงค์ จากตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง หลวงจำนงราชกิจ (ดี) ตำแหน่งปลัดเมือง หลวงประสิทธิ์สงคราม (สุวัฒน์) ขุนรามภักดี (คำเกิด) ตำแหน่งศาลเมือง ขุนมหาดไทย (สา) ตำแหน่งมหาดไทยเมือง ขุนกัตติยะ (ควัน) ตำแหน่งนครบาลเมือง ขุนสมบัติ (สังข์) ตำแหน่งคลังเมือง ขุนพิทักษ์ (หงส์) ตำแหน่งโยธาเมือง
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2445 ให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นอำเภอพรรณานิคม อยู่ในบริเวณสกลนคร และปีพุทธศักราช 2450 พระเสนาณรงค์ (สุวรรณ) ลาออกจากราชการ ทางมณฑลจึงให้ขุนราชขันธ์ (ขัน) บุญพระอนุบาลสกลเขต (เมฆ) ปลัดบริเวณสกลนคร ย้ายมาทำหน้าที่แทนพระเสนาณรงค์ ทั้งนี้เมืองพรรณานิคมหรืออำเภอพรรณานิคม เป็น 1 ใน 4 เมืองในเขตจังหวัดสกลนครที่ตั้งขึ้นก่อนพุทธศักราช 2415 โดยไม่เคยถูกยุบลงเป็นตำบลมาก่อน