ตำนาน

ประวัติความเป็นมา อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

สภาพที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอกุสุมาลย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองสกลนคร มีพื้นที่ 450.0 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 283,750 ไร่ ห่างจากจังหวัดสกลนครตามถนนทางหลวงหมายเลข 22 ประมาณ 42 กิโลเมตร กิโลเมตรแบ่ง กิโลเมตรแบ่งพื้นออกเป็น 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอเมืองสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปลาปาก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

อำเภอเมืองประกอบไปด้วย 5 ตำบลดังนี้
1. ตำบลอุ่มจาน
2. ตำบลนาเพียง
3. ตำบลนาโพธิ์
4. ตำบลกุสุมาลย์
5. ตำบลโพธิไพศาล

ประวัติและความเป็นมาอําเภอกุสุมาลย์
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ พบหลักฐานเก่าแก่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ในกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงตอนปลายในบริเวณบ้านเมืองเก่าหมู่ 8 ตำบลนาโพธิ์อำเภอกุสุมาลย์ลักษณะเป็นเนินดินล้อมรอบด้วยที่นาหลักฐานเป็นเศษชิ้นส่วนของภาชนะเครื่องปั้นดินเผาสีขาวนวลตกแต่งด้วยลายเขียนสีแดงตราประทับลูกกลิ่งดินเผาและลูกปัดแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 21-23 พบว่ามีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้างหรือไทยลาว ก่อนรกร้างไป โดยพบหลักฐานประเภทภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง กลุ่มเตาลุ่มน้ำสงครามและกล้องยาสูบและยังพบหลักฐานอื่นที่สืบเนื่องมาจนกระทั่งเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ (พทธศตวรรษที่ 24-25)

การเกิดบ้านเมืองของอำเภอกุสุมาลย์เริ่มชัดเจนในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์โดยกลุ่มคนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เรียกว่า “ไทโส้” หรือ “กะโส้” มีเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคด เป็นผู้ปกครอง ทำราชการขึ้นต่อเมืองมหาไซกองแก้วและผลกระทบจากสงครามระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ทำให้เมืองมหาไซกองแก้วถูกกองทัพสยามเข้าตีแตกทำให้กรมการเมืองมหาไซกองแก้วและราษฎรรวมไปถึงเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคด หลบหนีการกวาดต้อนของสยามเข้าไปอาศัยในเขตแดนญวนและตามภูเขาสูงต่อมาในปีพุทธศักราช 2378 อุปฮาด (สายคำ) ราชวงศ์ (คำ) ท้าวจุลนี (อิน) พาครอบครัวราษฎรเมืองมหาไซกล่องแก้ว เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสกลทวาปีและในปีพุทธศักราช 2385 ภายหลังจากเปลี่ยนชื่อเมืองสกลทวาปี เป็นเมืองสกลนคร กรมการเมืองมหาไซกองแก้วได้เข้ามามีบทบาทในการปกครองราชวงศ์ (อิน) ได้รับคำสั่งให้ไปเกลี้ยกล่อมราษฎรผู้ไท แถบเมืองวังครั้งนั้นจึงได้เกลี้ยกล่อมให้เพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคด และราษฎรไทโส้ มาด้วยเดิน โดยกลุ่มผู้ไทเมืองวัง ได้ไปตั้งบ้านเรือนขึ้นที่บ้านพานพร้าว ( ปัจจุบันเป็นเมืองพรรณานิคม) เขตเมืองสกลนครสวนราษฎรไทโส้ นำโดยเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคด ไปตั้งบ้านเรือนขึ้นที่ริมห้วยขมาน เรียกชื่อ “บ้านกุดขมาน” บ้าน “กุดสมาน” บ้าน “อุชุมาน” หรือ บ้าน “ศรีสัตนาค”

ปีพุทธศักราช 2387 รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ยกบ้านกุดขมานเป็น ”เมืองกุสุมาลย์มณฑล” ให้เพี้ยเมืองสูง “หลวงอรัญอาสา” ภายหลังได้รับพระราชทานเป็น “พระอรัญอาสา” เจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล ส่วนเพี้ยบุตโคด ไม่ปรากฏว่าอยู่ตำแหน่งใดต่อมาครั้นถึงปี พ.ศ. พุทธศักราช 2405 รัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เกิดความขัดแย้งระหว่างกรมการเมืองกุสุมาลย์มณฑล เรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการท้าวขัตติยะขอแยกออกจากเมืองกุสุมาลย์มณฑลไปอยู่บ้านนาโพธิ์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนาโพธิ์เขตเมืองกุสุมาลย์มณฑลขึ้นเป็น “เมืองโพธิไพศาลนิคม” โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวขัตติยะเป็น “พระพิศาลสิมมานุรักษ์” ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองและปีเดียวกันเมืองกุสุมาลย์มณฑลบริเวณริมห้วยขมาน เกิดความแห้งแล้งและโรคระบาดจึงพากันอพยพย้ายมาตั้งอยู่ที่เมืองกุสุมาลย์ในปัจจุบัน

ปีพุทธศักราช 2432 ภายหลังจากพระอรัญอาสาถึงแก่กรรม ท้าวสุริยะ (กิ่ง) บุตรชายได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์สืบต่อมาและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระอรัญอาสา” ครั้นถึงพุทธศักราช 2439 โปรด โปรดเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ โปรดเกล้าให้เมืองประมาณมณฑลและ โปรดเกล้าให้เมืองประมาณมณฑลและเมืองโพธิไพศาลนิคมไปขึ้นกับเมืองนครพนม เนื่องจากทั้งสองเมืองนี้อยู่ในเขตแดนเมืองนครพนม จนถึงปีพุทธศักราช 2440 มณฑลถูกจัดการเปลี่ยนระเบียบตำแหน่งกรมการ 4 ตำแหน่งเหมือนกันทุกเมือง ตามระเบียบกรมการหัวเมืองชั้นในพุทธศักราช 2445 จัดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑล ให้พระอรัญอาสา (กิ่ง) จากตำแหน่งเจ้าเมืองเป็น ผู้ว่าราชการเมือง หลวงประชากุสุมาลย์ (ลี) ตำแหน่งปลัดเมือง หลวงชำนาญระงับกิจ (หนู) ตำแหน่งศาลเมือง ขุนสนิทโยธา (หอม) ตำแหน่งผังเมือง ต่อมาทางมณฑลได้ยุบเมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาลลงเป็นตำบล ให้ขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนครและอำเภอเมืองนครพนม ภายหลังประกาศเป็นกิ่งอำเภอกุสุมาลย์ ขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนคร เมื่อปีพุทธศักราช 2505 และประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอกุสุมาลย์ เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ขึ้นกับจังหวัดสกลนคร

ข้อมูลจาก : ประวัติศาสตร์ท้องถินสกลนคร

แชร์ไปที่

Facebook
Twitter
Email

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น