ประวัติความเป็นมา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
สภาพที่ตั้งและอาณาเขต
อําเภอเมืองสกลนครมีพื้นที่ 1,023.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 639,625 ไร่ แบ่งพื้นที่ การปกครองออกเป็น 16 ตําบล 169 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร และอําเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอภูพาน และอําเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอโพนนาแก้ว อําเภอกุสุมาลย์ และอําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และอําเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
อำเภอเมืองประกอบไปด้วย 16 ตำบลดังนี้
1. ตำบลเชียงเครือ
2. ตำบลท่าแร่
3. ตำบลฮางโฮง
4. ตำบลธาตุนาเวง
5. ตำบลธาตุเชิงชุม
6. ตำบลเหล่าปอแดง
7. ตำบลงิ้วด่อน
8. ตำบลดงชน
9. ตำบลม่วงลาย
10. ตำบลโคกก่อง
11. ตำบลหนองลาด
12. ตำบลขมิ้น
13. ตำบลพังขว้าง
14. ตำบลห้วยยาง
15. ตำบลดงมะไฟ
16. ตำบลโนนหอม
ประวัติและความเป็นมาอําเภอเมืองสกลนคร
การตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อําเภอเมืองสกลนคร พบว่า หลักฐานเก่าแก่ที่สุดอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยตอนปลาย มีการค้นพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ตะกรันจากการถลุงเหล็ก ในบริเวณสํานักสงฆ์ริมฝั่งหนองหาน อาทิเช่น บ้านดอนเหล่าทัพ ตําบลงิ้วด่อน อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยห่างจากตัวเมืองเก่าสกลนครประมาณ 1.5 กิโลเมตร แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัว ของกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในบริเวณลุ่มน้ําหนองหาน อําเภอเมืองสกลนคร
เมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของอําเภอเมืองสกลนคร ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 เริ่มมีการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแบบหินยาน ดังหลักฐานสําคัญ ประกอบด้วย ใบเสมาหินทรายที่มีลวดลายเฉพาะแบบวัฒนธรรมทวารวดีบริเวณภาคอีสานเท่านั้น คือ ลวดลายสันสถูปและหม้อน้ําปูรณฆฏะ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมประเภทพระพุทธรูปหินทราย ในบริเวณบ้านนาอ้อย อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร และห่างออกไปจากตัวเมืองเก่าสกลนคร ในบริเวณวัดกลางศรีเชียงใหม่และวัดมหาพรหมโพธิราช บ้านท่าวัด ตําบลเหล่าปอแดง อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ยังปรากฏกลุ่มใบเสมาหินทรายปักซ้อนกันจํานวน 8 คู่ และพระพุทธรูปหินทรายศิลปะ ทวารวดี จนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมได้แผ่อิทธิพลขึ้นมาครอบคลุมถึงบริเวณ ที่ราบลุ่มหนองหาน ปรากฏหลักฐาน เช่น รูปแบบการวางผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมของเมืองโบราณสกลนคร และสถาปัตยกรรมทางศาสนาตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อาทิ ปราสาทภายในองค์พระธาตุเชิงชุม ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทธาตดูม โดยมาก พบว่าอยู่ในวัฒนธรรมขอมสมัยบาปวน (พ.ศ. 1553 – 1623) ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยนครวัด (พ.ศ. 1650-1718)
สถาปัตยกรรมเจดีย์แบบล้านช้าง สวมทับองค์เดิมในวัฒธรรมขอม ณ วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร เมืองสกลนคร
ราวพุทธศตวรรษที่ 19 อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรเริ่มเสื่อมคลายอำนาจลงไปจากที่ราบลุ่มหนองหาน ก็ตามอย่างไร ก็ตามอย่างไรก็ตามยัง ก็ตามอย่างไรก็ตามยังคงทิ้งร่องรอยหลักฐานทางโบราณสถานหวยหลายแห่งและเมื่อพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 สกลนครเข้าสู่สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมเขมรเสื่อมอำนาจหมดไปจากสกลนครแล้วแต่ยังคงปรากฏหลักฐานความสืบเนื่องทางวัฒนธรรม อาทิเช่น พระพุทธรูปหินทรายทรง เครื่องนาคปรกภายในองค์พระธาตุเชิงชุม อีกทั้งปรากฏเรื่องราวความเป็นเมืองขอมผ่านตำนานอุรังคนิทานและนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่
จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 23 วัฒนธรรมล้านช้างเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว วัฒนธรรมล้านช้างเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาวภายใต้ วัฒนธรรมล้านช้างเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาวภายใต้อำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านช้างอำนาจ วัฒนธรรมล้านช้างเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาวภายใต้อำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านช้างอำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง โดยปรากฏหลักฐานการสร้างศาสนสถานทางพระพุทธศาสนาขึ้นอีกหลายแห่ง รวมทั้งการดัดแปลงปราสาทหินที่มีแต่ดั้งเดิมให้เป็นองค์พระธาตุแบบล้านช้าง โดยเฉพาะที่พระธาตุเชิงชุม ปรากฏหลักฐานว่ามีการก่อครอบทับปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมร พร้อมกับการอุทิศกัลปนา “ข้าพระโยมสงฆ์” หรือ “ข้าโอกาส” ทำหน้าที่ในการดูแลศาสนสถานที่ถูกสร้างขึ้นนั้นด้วย วัฒนธรรมล้านช้างได้แพร่ขยายครอบคลุมดินแดนลุ่มน้ำหนองหานโดยพบหลักฐานประเภทจารึกที่วัดกลางศรีเชียงใหม่ บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร กล่าวถึงการกัลปนาที่ดินสร้างวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อจุลศักราช 998 ( พุทธศักราช 2179)
เมื่อถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 อาณาจักรล้านช้างอ่อนแอลงด้วยสาเหตุต่างๆหลายประการ บ้านเมืองต่างๆ รวมถึงบริเวณที่ราบลุ่มริมหนองหาน จากเดิมอาณาจักรล้านช้างเคยปกครองอยู่จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสยามหรือ “สมัยรัตนโกสินทร์” สมัยนี้ปรากฏหลักฐานมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ทำให้เห็นถึงพัฒนาการบ้านเมืองของสกลนครอย่างเด่นชัดว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวไพร่พลมาเป็น “ข้าพระธาตุ” ต้องรักษาพระธาตุเชิงชุม ณ บ้านธาตุเชิงชุม ถึงปีพุทธศักราช 2329 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็น “เมืองสกลทวาปี” DD ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็น ”พระธานี” เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก โดยยังให้ใช้การปกครองบ้านเมืองแบบ “อาญาสี่” ตามธรรมเนียมเดิมของวัฒนธรรมล้านช้าง
เมื่อร่วมถึงแผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พุทธศักราช 2369 เกิดสงครามระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปี ต้องโทษขัดตาทัพ ทำให้มีการกวาดต้อนผู้คนเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่เมืองกบินทร์บุรีและเมืองประจันตคาม คงเหลือผู้คนเพื่อรักษาพระธาตุเชิงชุมอยู่เพียง 10 ตำบล ต่อมาพุทธศักราช 2378 อุปฮาดคำสาย ราชวงศ์คำ ท้าวอิน เมืองมหาไซกองแก้ว พาบ่าวไพร่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์คำ ท้าวอิน ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสกลทวาปีและภายหลังได้ข้ามแม่น้ำโขงเพื่อไปเกลี้ยกล่อมกวาดต้อนครอบครัวจากเมืองมหาไซกองแก้ว มารวมอยู่ที่เมืองสกลทวาปีเป็นอันมาก ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2381 ได้มีใบบอกตั้งให้ราชวงศ์คำเป็น “พระยาประเทศธานี” เป็นเจ้าเมืองราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ (ลาว) เป็นอุปฮาด ท้าวอิน เป็นราชวงศ์และราชบุตร (ด่าง) เมืองกาฬสินธุ์ ราชบุตร พร้อมกับเปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็นเมืองสกลนคร ต่อมาอุปฮาด (ลาว) รับราชการได้ 13 ปี ก็ถึงแก่กรรม ราชบุตร (ด่าง) พาครอบครัวกลับไปอยู่เมืองกาฬสินธุ์ระยะนี้มีการอพยพผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาอยู่ฝั่งขวาเป็นจำนวนมาก
ในรัชสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ภายหลังจากพระยาประเทศธานี (คำ) ถึงแก่กรรม ได้โปรดเกล้าฯ (ปิด) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองที่ว่างลง ระยะนี้มีการเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาของคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส โดยมีชาวสกลนครเข้ารีตนับถือเป็นจำนวนหนึ่ง ก่อนอพยพไปตั้งบ้านเรือนที่ริมหนองหารฝั่งทางทิศเหนือ ปัจจุบันคือ บ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร พร้อมกับการเข้ามาของกลุ่มชาวญวนหรือเวียดนาม จนมาถึงสมัยพระยาประเทศธานี (โง่นคำ) เมืองสกลนครอยู่ในมณฑลลาวพวน หรือหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เรียกว่า แขวงเมืองสกลนคร ต่อมาเปลี่ยนจากมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลอุดร โดยแบ่งเป็น 5 บริเวณ เลี่ยงแขวงเมืองสกลนครว่า บริเวณสกลนคร
วัดมหาพรหมมีคาแอล บ้านท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2484 เป็น เป็นต้นมาเมือง เป็นต้นมาเมืองสกล เป็นต้นมาเมืองสกลนครและหัวเมืองต่างๆเริ่ม เป็นต้นมาเมืองสกลนครและหัวเมืองต่างๆเริ่มมีการปรับปรุงเปลี่ยน เป็นต้นมาเมืองสกลนครและหัวเมืองต่างๆเริ่มมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก อาทิเช่น การส่งข้าหลวงไปกำกับรักษาราชการตามหัวเมืองทุกเมือง สำหรับเมืองสกลนครมีพระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศพิธวิไชย ( กาด สิงหเสนี) มาเป็นข้าหลวงท่านแรก ในปีพุทธศักราช 2440 มณฑลจัดการเปลี่ยนระเบียบตำแหน่งกรมการ 4 ตำแหน่งเหมือนกับทุกเมืองตามระเบียบกรมการหัวเมืองชั้นใน 2445 จะให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นอำเภอเมืองสกลนคร แล้วให้พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) จากตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง พระอนุบาลสกลเขต ( เมฆ) ตำแหน่งปลัดเมือง พระสกลกิจวิจารณ์ (คำฟอง) ตำแหน่งศาลเมือง พระวิเศษสกลกิจ (อรดี) ตำแหน่งคลังเมือง พระบุรีบริรักษ์ (คลี่) ตำแหน่งนครบาลเมือง พระสัสดีตุลากิจ (คำ) ตำแหน่งโยธาเมือง พระมหาไทย (แพง) ตำแหน่งมหาดไทยเมืองและผู้ช่วยราชการเมืองอีก 4 ตำแหน่งประกอบด้วย พระวรสิทธิธนานุกูล (หอม) พระวิชิตพลหาร (ไค้) พระศรีสกุลวงศ์ (แก้ว) พระศรีวรบุตรภักดี (สุภี) หลวงสกลนครานุรักษ์ (นรกา) พร้อมปรากฏตำแหน่งกรมการฝ่ายจีนอีก 1 ตำแหน่ง คือพระบำรุงพานิชย์ (เกียก)
อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร)
นอกจากนี้ความเจริญได้เข้าสู่สกลนคร 2444 – 2445 มีการตัดถนน 5 สายภายในเมืองสกลนคร ประกอบด้วย ถนนเจริญเมือง ถนนเรืองสวัสดิ์ ถนนกำจัดภัย ถนนมรรคาลัย และถนนสุขเกษม จากนั้นเพิ่มเติมอีก 3 สายในภายหลังประกอบด้วย ถนนเปรมปรีดา ถนนเจริญเมือง และถนนใสสว่าง พร้อมกับมีการพาดสายโทรเลขจากมณฑลอุดรถึงบริเวณสกลนคร
ในรัชสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมืองสกลนครได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ต่อมามีการเรียกบริเวณสกลนครเป็นเมืองสกลนครตามเดิม พร้อมกับการพัฒนาด้านสาธารณูปการ เช่น การตัดทางเกวียนข้ามภูพานจากสกลนครไปกาฬสินธุ์ จัดสร้างสถาที่ราชการภายในเมืองสกลนคร จัดสร้างสนามบิน และโรงเรียน พร้อมกันนี้ในพุทธศักราช 2459 มีการเรียกทั้งแขวงสกลนครว่า จังหวัดสกลนคร ส่วนชื่ออำเภอเมืองเรียกว่า อำเภอธาตุเชิงชุม ประกอบด้วย ตำบลธาตุเชิงชุมและตำบลสะพานหิน จนปีพุทธศักราช 2499 จากอำเภอท่าเชิงชุมถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองสกลนคร
วิถีวัฒนธรรมของชาวสกลนคร
ขอบคุณข้อมูลจาก : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสกลนคร