ประวัติ พระอาจารย์มั่น พระอรหันต์แห่งสกลนคร
ตามรอย “พระอาจารย์ใหญ่” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) บุคคลสำคัญของโลก และนับเป็นพระอริยสงฆ์รูปที่ 3 ของไทย
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตคือหนึ่งในพระวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย พระอาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรม เป็นผู้มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และตั้งมั่นอยู่บนความเพียรตั้งแต่วันแรกของการบรรพชา – อุปสมบท จวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ข้อวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของหลวงปู่มั่น ก็คือ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร และใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
การออกธุดงค์แสวงหาวิเวก
หลังจากได้เรียนรู้พระธรรมวินัย และฝึกภาวนาเบื้องต้นพอสมควรแล้ว หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาหลวงปู่มั่นพรัอมด้วยสามเณรอีกองค์หนึ่ง ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรที่ห่างไกลจากผู้คน ได้ข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาว เมื่อพบสถานที่เหมาะ ก็พักปักกลดบำเพ็ญภาวนา และย้ายที่ไปเรื่อยๆ ขึ้นเหนือไปตามลำแม่น้ำโขง พบว่าป่าทึบแถวเมืองท่าแขก เป็นที่สงบ มีสัตว์ป่าชุกชุม จึงได้พักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่นั่น ๓ พรรษา
ณ ที่นั้น อาจารย์และศิษย์ทั้ง ๓ องค์ ถูกไข้ป่าเล่นงานจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ไม่มีท่าทีจะรักษา มีแต่กำลังแห่งอานุภาพภาวนาเท่านั้น ทั้ง ๓ องค์ เร่งภาวนาแบบยอมตายถวายชีวิต ใช้การบริกรรมพุทโธ กำหนดจิตสงบนิ่งไม่ให้แส่ส่ายไปทางใด
ในส่วนของหลวงปู่มั่นนั้น พอท่านกำหนดจิตลงสู่ความเป็นหนึ่งแล้ว “ปรากฏว่าศีรษะลั่นเปรี้ยะไปหมด เหงื่อไหลออกมาเหมือนราดน้ำ เมื่อออกจากสมาธิ ปรากฏว่าไข้ได้หายไปราวกับปลิดทิ้ง” เป็นการใช้ธรรมโอสถระงับการอาพาธของท่านเป็นครั้งแรก
ธุดงวัตรที่ท่านถือเป็นอานิฌ 4 ประการ ดังนี้
1. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือ นุ่งห่มผ้าบังสกุล
2. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือ ภิกขาจารเที่ยวบิฌฑบาตฉันเป็นนิตย์
3. เอกะปัตติกังคธุดงค์ ถือ ฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
4. เอกาสะนิกังคธุดงค์ ถือ ฉันหนเดียวเป็นนิตย์
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานแห่งยุค ตำนานชีวิตของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษผู้ใกล้ชิดถึงญาณความรู้ของหลวงปู่มั่นกว้างขวางแม่นยำทุกด้านหาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ 4 อย่าง คือ
-
อัตถปฏิสัมภิทา – แตกฉานในอรรถ
-
ธรรมปฏิสัมภิทา – แตกฉานในธรรม
-
นิรุตติปฏิสัมภิทา – แตกฉานในภาษา
-
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา – แตกฉานในปฏิภาณ
โดยปฏิปทาที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือ
-
ปังสุกุลิกังคธุดงค์ – ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
-
ปิณฑปาติกังคธุดงค์ – ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์
-
เอกปัตติกังคธุดงค์ – ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
-
เอกาสนิกังคธุดงค์ – ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์
-
ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ – ถือลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม
-
เตจีวริตังคธุดงค์ – ถือใช้ผ้าไตรจีวร 3 ผืน
-
อารัญญิกังคะ – ถือละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน