ท่องเที่ยว | เที่ยววัฒนธรรม | เที่ยวสกลนคร

การแสดงฟ้อนหางนกยูงหัวเรือ

ประวัติความเป็นมา การแสดงฟ้อนหางนกยูงหัวเรือ ของชาวสกลนครมีมานานนับร้อยกว่าปีแล้ว ใช้สำหรับบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประทานพรให้มีชัยชนะ แคล้วคราด จากผะยันอันตราย ทั้งปวง และเข้าร่วมการเส็งต่างๆ (การแข่งขัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา การแสดงชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่ง และรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งท่ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบ ก่อนออกชิงชัยในศึกสงครามในสมัยก่อนโดยท่ารำตามอาวุธที่ตนเองฝึก เช่น รำดาบ รำกระบี่กระบอง เข้าจังหวะกลองต่อมาในปี 2492 อาจารย์จำลอง นวลมณี ได้มีการดัดแปลงปรับปรุงท่ารำใหม่ ให้ท่ารำมีลักษณะอ่อนช้อย เหมือนนกยูงรำแพน เป็นการแสดงของชาย หรือจะเป็นคู่ก็ได้ โดยผู้ฟ้อนจะจินตนาการท่าทางเหมือนกับนกยูง ถ้าเป็นการรำคู่ ผู้แสดงจะแสดงคล้ายกับนกยูงกำลังเกี้ยวพาราสีกัน ฝ่ายหญิงจะแสดงท่าทางอ่อนช้อย ในขณะที่ฝ่ายชายจะแสดงความแข็งแกร่ง ใช้ประกอบกับดนตรีพื้นเมืองอีสาน จึงนำมารำถวายบูชาองค์พระธาตุเชิงชุมทุกปี ในปี 2511 อาจารย์จำลอง นวลมณีได้นำฟ้อนหางนกยูงมารำบนหัวเรือแข่งครั้งแรก ในการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา โดยการตกแต่งเรือให้สวยงาม มีคนเล่นดนตรีอยู่กลางลำเรือ มีฝีพายประมาณ 4 คนกับนายท้ายเรือ 1 คน และให้ผู้แสดงฟ้อนหางนกยูงนั้นฟ้อนอยู่บนหัวเรือจึงเรียกว่า “ฟ้องหางนกยูงหัวเรือ” มาจนถึงปัจจุบัน การฟ้อนหางนกยูงนี้เป็นการฟ้อนที่มีพื้นที่อย่างจำกัด ดังนั้นผู้ที่จะฟ้อนหางนกยูงนั้นจะต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญมีการฝึกซ้อมขึ้นเรือเป็นอย่างดี การแสดงฟ้อนหางนกยูงจังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน ได้มีการนำมาแสดงอย่างแพร่หลายพร้อมกับเพิ่มเติม และดัดแปลงท่าฟ้อนให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อความสวยงาม แต่มีการแสดงฟ้อนหางนกยูงของ อาจารย์พิศไสว วงศ์กาฬสินธุ์ โรงเรียนมารีพิทักษ์สกลนคร(นิรมลวิทยา) เป็นลูกศิษย์ที่เหลือเพียงคนเดียวของ อาจารย์จำลอง นวลมณี และวงดนตรีโฟคของอาจารย์สุขสันต์ สุวรรณเจริญ ชุมชนธาตุเชิงชุม ที่ยังคงจังหวะดนตรีและการฟ้อนหางนกยูงแบบดั้งเดิมเอาไว้ซึ่งจะมีการแสดงให้ดู ในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 นี้ ณ หนองหาน สกลนคร

Similar Posts