ประวัติความเป็นมา อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
สภาพที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอวานรนิวาส ตั้งอยู่บริเวณ “กุดแสง” อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองสกลนคร
มีพื้นที่ 1,001.0 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 625,625 ไร่ ห่างจากเทศบาลนครสกลนคร ระยะทางประมาณ
84 กิโลเมตร แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 182 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครอง
ข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคำตากล้า และอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออากาศอำนวย และอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเจริญศิลป์ และอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
อำเภอเมืองประกอบไปด้วย 14 ตำบลดังนี้
1. ตำบลวานรนิวาส
2. ตำบลเดื่อศรีคันไชย
3. ตำบลขัวก่าย
4. ตำบลหนองสนม
5. ตำบลคูสะคาม
6. ตำบลธาตุ
7. ตำบลหนองแวง
8. ตำบลศรีวิชัย
9. ตำบลนาซอ
10. ตำบลอินทร์แปลง
11. ตำบลนาคำ
12. ตำบลคอนสวรรค์
13. ตำบลกุดเรือคำ
14. ตำบลหนองแวงใต้
ประวัติและความเป็นมาอําเภอวานรนิวาส
การตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อำเภอวานรนิวาส แม้ว่ายังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ได้ว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่ใน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หากแต่พื้นอำเภอวานรนิวาสอยู่ในพื้นที่รอยต่อของอำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม และอำเภอสว่างแดนดิน ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีการตั้งถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ความเป็นมาเมื่อประมาณ 2,300-1,800 ปีมาแล้ว และต่อเนื่องสู่การตั้งถิ่นฐานของผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมไทลาว ภายใต้อำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านช้างในบริเวณใกล้เคียง
เส้นทางสู่อำเภอวานรนิวาส
การถือกำเนิดของเมืองวานรนิวาส มีความเด่นชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ ขณะที่สยามเมื่อครั้งแผ่นดินล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ภายหลังจากสงครามระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ มีคำสั่งโปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรราชวงศา (ฝ้าย) เจ้าเมืองยศสุนทรหรือยโสธรมาจัดราชการและรักษาเหตุการณ์ ณ เมืองนครพนม ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองว่าราชการเมืองนครพนมด้วย ทั้งนี้เป็นผลจากการที่สยามใช้นโยบายในการเกลี้ยกล่อมชักชวนเจ้าเมืองเดิมทางฝั่งซ้ายเข้ามาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยตั้งให้เป็นบ้านเมืองทำให้มีราษฎรอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในนั้นจึงมีราษฎรชาติพันธุ์ไทโย้ยเข้ามาตั้งบ้านเรือนในลุ่มน้ำยามหลายตำบล โดยบางตำบลทำราชการขึ้นเมืองสกลนคร ครั้นถึงปีพุทธศักราช 2397 ทางราชการมีคำสั่งให้พระสุนทรราชวงศา (ฝ้าย) กลับไปว่าราชการเมืองยศสุนทร (ยโสธร) ตามเดิม และอนุญาตให้เมืองใดก็ตามที่สมัครใจทำราชการขึ้นกับพระสุนทรราชวงศา (ฝ้าย) เมืองนครพนม สามารถติดตามพระสุนทรราชวงศา (ฝ้าย) ย้ายไปอยู่เมืองยศสุนทรได้ครั้งนั้นราษฎรไทโย้ยนำโดยท้าวจารย์คำ บ้านกุดแฮ่ชมพู จึงได้ขอขึ้นทำราชการกับพระสุนทรราชวงศา (ฝ้าย) เจ้าเมืองยโสธร และพาชาวไทโย้ยจำนวนหนึ่งรวมกลุ่มกับท้าวจันโสมบ้านม่วงริมยามติดตาม พระสุนทรราชวงศา (ฝ้าย) ไปยังเมืองยโสธร และตั้งบ้านเรือน ณ บ้านกุดลิง ขึ้นต่อแขวงเมืองยโสธร
ห้วยโทง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส
หลวงวานรนิคม (น้อย) ตำแหน่งปลัดเมือง
หลวงอุดมวานรการ (จูม) ตำแหน่งศาลเมือง
ขุนราชมหาดไทย (คำ) ตำแหน่งมหาดไทยเมือง
ขุนศรี (สอน) ตำแหน่งนครบาลเมือง
ขุนบรรหารวานรกิจ ตำแหน่งคลังเมือง
ขุนโยธา (พรหม) ตำแหน่งโยธาเมือง
พุทธศักราช 2445 เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นอำเภอวานรนิวาส โดยอำเภอวานรนิวาส อยู่ในบริเวณสกลนคร ทั้งนี้ เมืองวานรนิวาสหรืออำเภอวานรนิวาสเป็นเพียง 1 ใน 4 เมืองในเขตจังหวัดสกลนครที่ตั้งขึ้นก่อนพุทธศักราช 2415 โดยไม่เคยถูกยุบลงเป็นตำบล